วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

WordPress คืออะไร




WordPress คือ โปรแกรม สำเร็จรูปตัวหนึ่ง ที่เอาไว้สำหรับสร้าง บล็อก หรือ เว็บไซต์ สามารถใช้งานได้ฟรี ถูกจัดอยู่ในประเภท CMS (Contents Management System) ซึ่งหมายถึง โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีไว้สำหรับสร้างและบริหารจัดการเนื้อหาและข้อมูลบนเว็บ ไซต์

WordPress ได้รับการพัฒนาและเขียนชุดคำสั่งมาจากภาษา PHP (เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งตัวหนึ่ง) ทำงานบนฐานข้อมูล MySQL  ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับจัดการฐานข้อมูล มีหน้าที่เก็บ เรียกดู แก้ไข เพิ่มและลบข้อมูล  การใช้งาน WordPress ร่วมกับ MySQL อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตใช้งานแบบ GNU General Public License

WordPress ปรากฏโฉมครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2546 (2003) เป็นความร่วมมือกันระหว่าง Matt Mullenweg และ Mike Littlej มีเว็บไซต์หลักอยู่ที่ http://wordpress.org และยังมีบริการ Free Hosting (พื้นที่สำหรับเก็บทุกอย่างของเว็บ/บล็อก) โดยขอใช้บริการได้ที่ http://wordpress.com

ปัจจุบันนี้ WordPress ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านเว็บบล็อกไปแล้ว แซงหน้า CMS ตัวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Drupal , Mambo และ Joomla สาเหตุเป็นเพราะ ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง Programing มีรูปแบบที่สวยงาม อีกทั้งยังมีผู้พัฒนา Theme (รูปแบบการแสดงผล) และ Plugins (โปรแกรมเสริม) ให้เลือกใช้ฟรีอย่างมากมาย

นอกจากนี้ สำหรับนักพัฒนา WordPress ยังมี Codex เอาไว้ให้เราได้เป็นไกด์ไลน์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน สำหรับพัฒนาต่อยอด หรือ นำไปสร้าง Theme และ Plugins ขึ้นมาเองได้อีกด้วย หนำซ้ำ ยังมีรุ่นพิเศษ คือ WordPress MU สำหรับไว้ให้ผู้นำไปใช้ สามารถเปิดให้บริการพื้นที่ทำเว็บบล็อกเป็นของตนเอง เพื่อให้ผู้อื่นมาสมัครขอร่วมใช้บริการในการสร้างเว็บบล็อก ภายใต้ชื่อโดเมนของเขา หรือที่เรียกว่า
Sub-Domain

จากที่ได้เกริ่นนำไปในบทความนี้ คงจะทำให้รู้จัก และได้ทราบประวัติความเป็นมา รวมถึงความหมายกันไปบ้างแล้วว่า WordPress คือ อะไร ในบทความหน้า เราจะได้เริ่มเรียนรู้ถึงรูปแบบ และวิธีการใช้งาน ไปจนถึงการเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ ต่อไป


WordPress.com กับ WordPress.org

               มีหลายครั้งที่เคยได้ยินผู้คนพูดถึง WordPress ในแบบที่ยังเข้าใจไม่ละเอียดนัก ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า WordPressเป็นเพียงแค่บล็อก (Blog) สำเร็จรูป ซึ่งที่จริงก็ไม่ผิด แต่ยังมีเข้าใจที่ไม่ละเอียดครบถ้วนนัก ถูกแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น ลุงเต่าก็เลยขอนำเสนอบทความนี้   ประเภทของ WordPress และความแตกต่าง เพื่อให้ญาติมิตรที่เข้ามาเยี่ยมชมได้อ่านกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ WordPress ให้มากขึ้น จะได้เลือกของไปใช้ให้ถูกกับงานของตน เราไปดูรายละเอียดกันดีกว่า
อันที่จริง ประเภท WordPress มีอยู่ถึง 3 ประเภท ได้แก่
1.             WordPress.com
2.             WordPress.org
3.             WordPress MU
ส่วนประกอบของเว็บไซต์  จะต้องมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนคือ โฮส โดเมนเนม และ ตัวเว็บไซต์ ซึ่งอันที่จริงแล้วWordPress เป็นเพียงโปรแกรมที่มีไว้สำหรับช่วยสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกเท่านั้น ไม่ว่าเว็บไหน บล็อกไหนในโลก ก็ต้องมีส่วนประกอบหลักที่เหมือนกัน ประเภท WordPress ที่มีมากถึง 3 ประเภทนี้ ก็เพราะที่มาของส่วนประกอบและความเป็นเจ้าของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญ WordPress แต่ละประเภทยังมีข้อจำกัดในการใช้งานที่แตกต่างกัน
อ้างอิงจาก :http://wordpress.9supawat.com/





WordPress.com
            มีไว้สำหรับสร้างบล็อก (Blog) ก็เหมือนกับ Blogger ที่เป็นบริการของ Google นั่นแหละ เค้าอนุญาตให้คนอื่นมาใช้ทรัพยากรของเค้าได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นดาวน์โหลดตัวโปรแกรม WordPress มาไว้เป็นสมบัติของตัวเอง ไม่ต้องเช่าโฮสเอง ไม่ต้องจดโดเมนเนมเอง เพียงแต่ต้องเป็นสมาชิก WordPress.com เสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะสร้างบล็อกขึ้นมาได้ ชื่อบล็อกที่เราสร้างขึ้นมาจะมีลักษณะเป็น ซับโดเมน เช่น ชื่อที่ตั้งเอง.wordpress.com
เพื่อ ที่จะให้ทำความเข้าใจง่าย ๆ เกี่ยวกับซับโดเมน ขอเปรียบเทียบซับโดเมนเป็นเหมือนชื่อบุคคล  ส่วนโดเมนนั้นก็เปรียบเสมือนนามสกุล ชื่อบล็อกที่ได้มานั้นเปรียบเสมือนชื่อของแต่ละคนที่อยู่ในตระกูล WordPress นั่นเอง แน่นอนว่า ชื่อบล็อกจะซ้ำกันไม่ได้ เพราะเป็นตัวที่บ่งชี้เฉพาะเจาะจง (เหมือนชื่อเว็บเช่นกัน) ถ้าซ้ำกันก็ยุ่งตาย()เลย ไม่รู้บล็อกใครเป็นบล็อกใคร
การสร้างบล็อกจาก WordPress.com หากเราไม่ชอบชื่อในลักษณะที่เป็นซับโดเมน (ที่มันดูยาว ๆ พิกล) ต้องการใช้ชื่อโดเมนเป็นของเราเองก็ได้นะ เพียงแค่เราไปจดโดเมนมา แล้วก็ทำการบอกว่าเราต้องการใช้ชื่อโดเมนที่เราไปจดมานี้แทน โดยต้องไปกำหนดตอนที่เราสมัครสร้างบล็อกใหม่ แต่จะต้องเสียค่าบริการให้เค้าเป็นรายปี ปีละ $15 คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 500 บาทเห็นจะได้
สิ่งสำคัญที่จะต้องรู้ หากเราต้องการสร้างบล็อกจาก WordPress.com ก็คือ เค้าจะมีข้อจำกัดอยู่เล็กน้อย (แต่มากสำหรับใครหลายคน) คือ เราไม่สามารถโหลดรูปแบบหน้าตาของการแสดงผล (Theme) และ โปรแกรมเสริม (Plugins) ใด ๆ ที่เอาไว้เพิ่มประสิทธิภาพจากภายนอก มาติดตั้งไว้ในบล็อกของเราได้ ต้องใช้เฉพาะที่เค้ามีให้เท่านั้น ทำให้หน้าตาขอบเว็บที่เราสร้าง ดูยังไงก็เหมือนบล็อกอยู่ดี อีกทั้งเราไม่สามารถนำโฆษณาของกูเกิ้ล (Google Adsense) มาติดได้ แต่บางครั้งวันดีคืนดี บล็อกของเราอาจมีการแสดงโฆษณา Google Adsense โผล่ขึ้นมาเฉยเลยก็ได้ แต่นั่นจะเป็นโฆษณาที่ตัวเจ้าของพื้นที่ที่แท้จริง เป็นผู้ที่ได้รับรายได้ตรงนี้ไปแทนซึ่งก็คือ WordPress.com นั่นเอง
อ้างอิงจาก : http://wordpress.9supawat.com/


WordPress.org
เป็นเว็บไซต์ที่เก็บทุกสิ่งทุกอย่างของ WordPress ไม่ว่าจะเป็น ตัวโปรแกรม ชุดรูปแบบการแสดงผล (Theme) โปรแกรมเสริม (Plugins) คำแนะนำต่าง ๆ เอาเป็นว่าอะไรที่เกี่ยวกับ WordPress ที่อยู่ระหว่างคำว่า ไม้จิ้มฟัน ยัน เรือรบ ที่นี่มีหมด ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในนี้ ฟรีทั้งหมด จะโหลดตัวโปรแกรม โหลด Theme โหลด Plugins เชิญตามอัธยาศัย ไม่เสียกะตังค์ หรือจะหาความรู้ หาข้อมูล หาโค้ดเพื่อเอาไปต่อยอด เอาไปเพื่อสร้าง/แก้ไขโค้ดต่าง ๆ  ก็ได้เช่นกัน
การใช้งาน WordPress.org นั้น เป็นเพียงฝ่ายสนับสนุนในการทำเว็บ เราไม่สามารถเข้าไปทำอะไรบนพื้นที่ของเค้าได้ ทำได้แค่อ่านและโหลดสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการ นั่นเท่ากับว่าเราจะต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บตัวโปรแกรมและข้อมูลทั้งหมดเอง ต้องมีชื่อเว็บเป็นของตัวเอง ไม่สามารถใช้นามสกุลของเค้าได้ นั่นก็คือ เราต้องเช่าโฮสและจดโดเมนเนม ซึ่งตรงนี้จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายนี้ไม่ได้แพงมากมายมหาศาลอะไรหรอกนะครับ ค่าเช่าโฮสสำหรับเว็บทั่ว ๆ ไปก็ประมาณหลักร้อยต่อปี ค่าจดโดเมนก็ประมาณ 300 บาท อย่างเว็บของบางท่าน ค่าเช่าโฮส 500บาท/ปี ค่าจดโดเมน 289บาท/ปี ก็ไม่แพงจนเกินที่จะรับได้
การสร้างเว็บ/บล็อกในแบบที่เช่าโฮสเป็นของตัวเอง เราจำเป็นที่จะต้องโหลดโปรแกรม WordPress ไปติดตั้งไว้ที่โฮส ไม่เหมือนกับการสร้างโดยใช้พื้นที่ของ WordPress.com ที่เค้าติดตั้งโปรแกรมไว้ให้แล้ว โดยสามารถไปดาวน์โหลดกันได้ที่ http://wordpress.org/download/ สำหรับเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ แต่หากใครไม่ถนัดภาษาอังกฤษ สามารถไปดาวน์โหลดเวอร์ชั่นภาษาไทยได้ที่ http://th.wordpress.org การติดตั้งก็ไม่ยุ่งยากอะไรหรอก ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการเช่าโฮสจะมีโปรแกรมช่วยติดตั้งแบบ One Click ให้อยู่แล้ว ข้อดี ของการสร้างเว็บบล็อกโดยเช่าโฮสเอง คือ เราสามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมเสริมแต่งได้อย่างหลากหลาย เพราะ สามารถโหลด Theme โหลด Plugins ต่าง ๆ เข้ามาใส่ในเว็บเราได้ บรรดา Theme และ Plugins มีให้เราโหลดกันแบบฟรี ๆ (อีกแล้วครับท่าน) กันเป็นหมื่น ๆ ตัว มันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บเราได้ หน้าตาก็ดูดีมีชาติตระกูลขึ้น หนำซ้ำ เรายังสามารถมีรายได้จากค่าโฆษณาของ Google ได้อีกด้วย
อ้างอิงจาก : http://wordpress.9supawat.com/

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเขียนแบบสอบถาม (Questionnaire)

1 สืบค้น
การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
          1  การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
                   2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์ 

ข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพและการวิจัยปริมาณ
            การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพมีที่มาแตกต่างกัน กล่าวคือ  การวิจัยเชิงคุณภาพมีพื้นฐานปรัชญาแบบธรรมชาตินิยม (Naturalism)  ในขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณมีพื้นฐานแบบปรัชญาแบบปฏิฐานนิยม  (Positivism)  ดังนั้น การค้นหาความจริงด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะเน้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ที่เป็นธรรมชาติ  ซึ่งบางครั้งเรียกว่า แนวคิดแบบปรากฎการณ์นิยม (Phenomenalism)  แล้วอาศัยวิธีการพรรณนาเป็นสำคัญ  ในขณะที่การค้นหาความจริงด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณต้องอาศัยกระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนรากฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน
            ในกระบวนการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพจะเริ่มต้นด้วยข้อมูลสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอุปมาน  แล้วสรุปตีความผลการวิเคราะห์ตั้งเป็นองค์ความรู้  เป็นกฎหรือทฤษฎี    กรณีของการศึกษาวิจัยวิธีการเชิงปริมาณจะเริ่มต้นด้วยกฎหรือทฤษฎีก่อน  จากนั้นข้อมูลเชิงประจักษ์จะถูกรวบรวมและนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอนุมาน และสรุปเป็นข้อค้นพบ
         







          เปรียบเทียบความแตกต่างในคุณลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงปริมาณ
1.  มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม(Naturalism) 
2. มุ่งทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง
3. เป็นการวิจัยที่เน้นการพรรณนา/อธิบาย (Descriptive approach)
4. ให้ความสำคัญกับกระบวนการได้มาซึ่งความจริงโดยมองแบบองค์รวม (Wholisticview)
5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอุปมาน
6. มุ่งแสวงหาความรู้เพื่อสร้างเป็นกฏ/ทฤษฎี
7. สิ้นสุดการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
1. มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบปฏิฐานนิยม (Phenomenalism)
2.มุ่งเน้นกาความจริงที่คนทั่วไปจะยอมรับ (common reality)
3. เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์และทดลอง () ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางสถิติ
4. ให้ความสำคัญกับผลที่จะได้รับมากกว่ากระบวนการการดำเนินการมีขั้นตอน ระเบียบแบบแผนที่ค่อนข้างแน่นอน
5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบคำตอบที่คาดคิดไว้ล่วงหน้า
6. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
7. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์

ที่มา : มนัส  สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544. 

ขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยสามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่
          1.  การกำหนดปัญหาการวิจัย (Problem definition) ซึ่งจะคลอบคลุมถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย และประโยชน์ที่จะได้รับ 
          2.  การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review related literature) เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีใครทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ไว้บ้าง ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอย่างไร เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ทำวิจัยมีอะไร เป็นต้น
          3.  วิธีดำเนินการวิจัย (Method) เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework) ว่าการวิจัยมีประเด็นและสาระสำคัญอะไรบ้าง และขอบเขตการวิจัยเป็นอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้างและนิยามอย่างไร แบบแผนการวิจัย (research design) เป็นอย่างไร การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 
          4.  การรายงานผลการวิจัย (Result) เป็นการแสดงผลลัพธ์จากการวิจัย แสดงผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลให้อยู่ในรูปแบบของรายงานการวิจัย
          5.  การสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ ผลการวิจัย และอภิปรายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนข้อเสนอแนะในการประเด็นปัญหาวิจัยที่ควรได้รับการวิจัยต่อไป 

การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยโดยทั่วไป
          ปัญหาการวิจัย (Research Problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ   ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ ซึ่งก็คือ ปัญหาการวิจัย นั่นเอง ฉะนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหาการวิจัยให้เป็นกิจลักษณะ และชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย
        หลังจากกำหนดหัวข้อปัญหาในการวิจัยได้ตามความเหมาะสมแล้ว  ขั้นต่อไปจะต้องกำหนดประเด็นปัญหาของการทำวิจัยในชัดเจน  เป็นการตีกรอบปัญหาให้อยู่ในวงจำกัด  ซึ่งการตีกรอบปัญหาให้ชัดเจนจะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกมาให้เด่นชัดขึ้น  เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบวิจัยและวางแผนงานของการวิจัยในขั้นอื่น ๆ ต่อไป
            ประเด็นปัญหาในการวิจัย  โดยปกติจะเป็นปัญหากว้าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบ  เช่น “การย้ายถิ่นของประชากรในประเทศไทย”  เบื้องหลังปัญหานี้อาจมีสิ่งต่าง ๆ มากที่ผู้วิจัยอยากรู้  เช่น จำนวนผู้ย้ายถิ่น  แบบแผนการย้ายถิ่นและ/หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น  แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และความรู้ความสามารถ  อาจทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาได้ทุกประเด็น  นั้นเป็นหน้าที่ของผู้วิจัยที่จะต้องเสนอหรือแสดงให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ  การกำหนดประเด็นปัญหา คือวิธีการสรุปปัญหากว้าง ๆ ที่เลือกมาให้แคบงเพื่อสะดวกแก่การเข้าใจ 




การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน
          การพัฒนาชุมชนในอดีตที่ผ่านมา  จะเห็นว่าการพัฒนาชุมชนหรือชนบทเป็นการพัฒนาในเชิงที่ "ชุมชนและท้องถิ่นถูกพัฒนา”  รัฐบาลเป็นผู้กำหนดกรอบความคิดและวางแผนในการพัฒนาบ้านเมืองพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาชุมชน แล้วรัฐบาลก็ไปจัดการ ไปดำเนินการผ่านกลไกของระบบราชการ ชุมชนและท้องถิ่นจึงถูกพัฒนา ซึ่งหมายถึง ถูกสั่ง ถูกบอก และร่วมพัฒนาไปด้วย กระบวนการพัฒนาเกิดขึ้นภายใต้ระบบราชการที่รัฐบาลเป็นผู้กำกับ จากข้างบนลงล่าง บทบาทของชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาจึงเป็นบทบาทรอง เป็นบทบาทที่ไม่สำคัญ บทบาทที่โดดเด่นและมีความสำคัญก็คือรัฐ  โดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาชุมชน และชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา ชุมชนร่วมพัฒนา
            ในการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยการพัฒนา ก็ต้องปรับกระบวนทัศน์ ปรับแนวคิดใหม่ จาก "ชุมชนถูกพัฒนาขยับเป็นขั้น "ชุมชนร่วมพัฒนาในกระบวนการวิจัยพัฒนาต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนมากขึ้น ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิจัยด้วย เรียกว่า "ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการวิจัย"  


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) : แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ มาตรวัด
แบบบันทึก แบบรายการประเด็นที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) : แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึก แบบรายการประเด็นที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แบบสอบถาม (questionnaire): ข้อเท็จจริง ความรู้สึกความคิดเห็น
- mailed questionnaire
- internetquestionnaire
ข้อดี ประหยัดเวลาและงบประมาณ ผู้ตอบมีอิสระในการตอบ
ข้อจำกัด ผู้ตอบไม่ให้ความร่วมมือ ไม่จริงใจในการตอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


2. แบบสัมภาษณ์ (interviews)
- structured/unstructured interviews
-group/individual interviews
- in-depth or intensive interviews
ข้อดี ใช้ได้กับทุกคน อธิบายคำถาม สอบถามรายละเอียดเจาะลึก
ข้อจำกัด เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง คุณภาพข้อมูลขึ้นกับความสามารถของผู้สัมภาษณ์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. แบบสังเกต (observation)
- เหมาะกับข้อมูลที่เป็นสิ่งมีชีวิต คน/สัตว์/ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
-known/unknown observation
-participant/non-participant observation
-direct/indirect observation
ข้อดี ข้อมูลปฐมภูมิ มีรายละเอียดครบ ไม่มีปัญหาเรื่องปกปิดข้อมูล
ข้อจำกัด เสียเวลา/ค่าใช้จ่ายมาก ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวสูงของนักวิจัย การตรวจสอบความตรงของข้อมูลทำได้ยากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. แบบสอบ (tests)
- เหมาะกับการวัดคุณลักษณะแฝง เช่น ความถนัด เชาวน์ปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- individual/group tests
-oral/written tests
ข้อดี สามารถวัดคุณลักษณะแฝงได้ วัดได้อย่างมีคุณภาพ
ข้อจำกัด วิธีสร้างค่อนข้างยุ่งยาก ผู้สร้างต้องมีความรู้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

5. แบบวัดหรือมาตรวัด (scales)
- เหมาะกับการวัดคุณลักษณะทางจิตวิทยา เช่น เจตคติ บุคลิกภาพ ความสนใจ ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น
ข้อดี การเก็บข้อมูลไม่เข้มงวดเหมือนแบบสอบ สร้างง่ายกว่าข้อสอบ
ข้อจำกัด ต้องรู้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมาตรวัดที่จะสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
6. แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสาร/หลักฐาน
- ใช้ในการวิจัยประวัติศาสตร์ การวิจัยเอกสาร
- เหมาะกับข้อมูลที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสาร / มีหลักฐาน
ข้อดี ไม่มีปัญหาเรื่องความร่วมมือ เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อจำกัด ต้องใช้ความสามารถในการหาความหมายข้อเท็จจริงที่แฝงในเอกสาร ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ข้อมูลขาดความตรงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
7. แบบรายการประเด็นการสนทนากลุ่ม (focus group discussion)
- ใช้ในการวิจัยสังคมศาสตร์และทางธุรกิจ
- เหมาะในการหาข้อสรุปความคิดเห็นของผู้รู้
ข้อดี ประหยัดเวลาและงบประมาณ
ข้อจำกัดทำได้บางเรื่องไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมอาจจะไม่ได้รับการเปิดเผยรูปแบบคำถาม(typesof question)
1. บังคับเลือก
1.1 Dichotomous question (ใช่/ไม่ใช่ หญิง/ชาย มี/ไม่มีประสบการณ์)
1.2 Measurement scale
-nominal (อาชีพ ภูมิล าเนา สาขา ฯลฯ)
-ordinal (เรียงอาชีพที่อยากท ามากที่สุดจนถึงน้อยที่สุดฯลฯ)
- interval (rating scale Guttmanscale)
แบบสอบถาม (Questionnaire)
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก และสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง
รูปแบบของแบบสอบถาม
1. แบบสอบถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Form)
แบบสอบถามชนิดนี้ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียนตอบอย่างอิสระด้วยความคิดของตนเอง แบบสอบถามชนิดนี้ตอบยากและเสียเวลาในการตอบมาก เพราะผู้ตอบจะต้องคิดวิเคราะห์อย่างกว้างขวาง
2. แบบสอบถามปลายปิด (Closed - ended Form)แบบสอบถามชนิดนี้ประกอบ ด้วย ข้อคำถามและตัวเลือก (คำตอบ) ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบ สามารถเลือกตอบ ได้ตามความต้องการ แบบสอบถามชนิดปลายปิด แบ่งเป็น 4 แบบ
2.1 แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นการสร้างรายการของข้อคำถามที่เกี่ยวหรือสัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม แต่ละรายการจะถูกประเมิน หรือชี้ให้ตอบในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น มี - ไม่มี จริง - ไม่จริง
2.2 มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในประเมินการปฏิบัติ กิจกรรม ทักษะต่าง ๆ มีระดับความเข้มให้พิจารณาตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป เช่น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2.3 แบบจัดอันดับ (Rank Order) มักจะให้ผู้ตอบจัดอันดับความสำคัญหรือคุณภาพ โดยให้ผู้ตอบเรียงลำกับตามความเข้มจากมากไปหาน้อย
ตัวอย่าง - ท่านเลือกเรียนสารสนเทศเพราะเหตุใด โปรดเรียงอันดับตามความสำคัญของเหตุผลจากมากไปหาน้อย เหตุผล อันดับความสำคัญเรียงจากมากที่สุด
1. มีใจรัก ……….…  2. หางานง่าย ………… 3. ค่าใช้จ่ายถูก ………… 4. ได้รับทุนอุดหนุน …………

2.4 แบบเติมคำสั้น ๆ ในช่องว่าง แบบสอบถามลักษณะนี้จะต้องกำหนดขอบเขตจำเพาะเจาะจงลงไป เช่น ปัจจุบันท่านอายุ………………ปี ………….เดือน



ตัวอย่างแบบสอบถามชนิดจัดอันดับ (Rank Order)



วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่1

เทคโนโลยี(Technology)

     เทคโนโลยี หรือ ประยุกต์วิทยา  หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

     เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรมเทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม

ความหมายของเทคโนโลยี

     คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า"Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

     พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

     เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนาส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้

1.     เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
1.     เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2.     เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่น ๆ อีกมากในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น

วิทยาการและความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี

         ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลกทุกสาขา เทคโนโลยีจึงเป็นที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน การเรียนการศึกษาในสมัยนี้จึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญคือเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะปัจจุบันนี้อุปกรณ์หลายชนิดก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ อินเทอร์เน็ต PDA GPS ดาวเทียม และไม่นานมานี้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการบ่งบอกว่าสังคมให้ความสำคัญแก่คอมพิวเตอร์
ที่มาของบทความ :http://th.wikipedia.org/wiki/  และ http://www.kroobannok.com/50



นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน
ที่มาของภาพ :http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Kohlenstoffnanoroehre_Animation.gif



ออกแบบนิเทศศิลป์(Vissual Communication)



     คำว่า นิเทศนั้นมาจากคำว่า นิเทศศาสตร์ซึ่งหมายถึงวิชาการที่ว่าด้วยการ

สื่อสารมวลชนและประชาสัมพันธ์ เมื่อรวมกับคำว่า ศิลป์ และคำว่า ออกแบบจึงได้ความหมาย

ของ การออกแบบนิเทศศิลป์ ว่า การออกแบบทางศิลปะที่เกี่ยวกับการสื่อสาร การออกแบบสื่อที่

จะใช้ในการสื่อสาร และการสร้างสรรค์รูปแบบการสื่อสารอย่างมีศิลปะ (ฉลอง สุนทรนนท์, 2547)



สรุปความหมายของเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ หมายถึง


การใช้เทคโนโลยีทางอินเทอร์เน็ตหรือเครื่องจักรกลเพื่อการออกแบบสื่ออย่างมีศิลปะ ก่อให้เกิดความพึงพอใจกับตนเอง ทำให้สื่อมีการพัฒนาในด้านรูปธรรม เป็นประโยชน์ และคุณค่าต่อสังคม หรือกลุ่มเป้าหมายของสื่อนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี